
สรุป อังกฤษ 9 วิชาสามัญ ปี 2566 ครบ จบ ทุกพาร์ท เพื่อ DEK66 โดยเฉพาะ
สอบจบไปเรียบร้อย พร้อมประกาศคะแนนแล้วด้วยสำหรับข้อสอบ 9 วิชาสามัญ ปี 2565 ซึ่งพี่โอมก็ได้เข้าสอบด้วยตัวเองด้วย โดยในวันนี้พี่โอมจะมา สรุป อังกฤษ 9 วิชาสามัญ ที่ได้ไปสอบมา แบบครบ จบ ทุกพาร์ท
หลังจากผ่านฤดูกาลสอบของพี่ ๆ DEK65 ถึงเวลาของ DEK66 ที่ต้องเริ่มเตรียมตัวกับสนามสอบมากมายทั้ง GAT-PAT ที่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น TGAT และ TPAT แล้ว หรือแม้กระทั่ง 9 วิชาสามัญ (โชคดีที่ O-Net ไม่มีแล้ว)
พี่โอมรวมมาให้เลย สรุปข้อสอบภาษาอังกฤษ 9 วิชาสามัญ หรือเรียกใหม่ว่า อังกฤษ A-Level แบบครบทุกพาร์ท เป็นไกด์ให้สอบปี 2566

9 วิชาสามัญ เปลี่ยนเป็น A-Level
ตอนนี้ถึงเวลาของ DEK66 ที่ต้องเริ่มเตรียมตัวกับสนามสอบมากมายทั้ง GAT-PAT ที่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น TGAT และ TPAT แล้ว หรือแม้กระทั่ง 9 วิชาสามัญ (โชคดีที่ O-Net ไม่มีแล้ว)
น้อง ๆ ก็จะเริ่มติว ทบทวน และหาแนวข้อสอบ 9 วิชาสามัญ เพื่อเตรียมความพร้อมกัน แต่ก่อนอื่น พี่โอมต้องบอกตอนนี้ก่อนเลยว่า 9 วิชาสามัญ ไม่มีแล้ว!
อ่าว! แล้วมันจะเป็นอะไรมาสอบแทนหละ
ปัจจุบัน 9 วิชาสามัญ จะเปลี่ยนเป็น A-Level แทน ซึ่งจะประกอบด้วย วิชาสามัญ + PAT 7
โดย 9 วิชาสามัญ Eng ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม ทำให้น้องๆ ไม่ต้องตกใจมาก สามารถติวทุกอย่างเหมือนเดิมได้เลย 555
ข้อสอบ A-Level 66 ภาษาอังกฤษนั้น พี่โอมมองว่า โจทย์หรือแนวข้อสอบก็จะค่อนข้างคล้ายๆ กับ อังกฤษ 9 วิชาสามัญเลย ซึ่งพี่โอมว่า เราสามารถวิเคราะห์แนวข้อสอบจาก โครงสร้างข้อสอบภาษาอังกฤษ ใน 9 วิชาสามัญได้เลย ซึ่งพี่สรุปมาให้เรียบร้อย
อ่านแกะรายละเอียด A-level 66 ได้ที่นี่เลย
อัปเดตล่าสุด TCAS66 ข้อสอบ A-Level 66 คืออะไร A-Level Eng สอบอะไรบ้าง
โครงสร้างของข้อสอบภาษาอังกฤษใน 9 วิชาสามัญ
ข้อสอบ 9 วิชาสามัญ วิชา English จะเป็นข้อสอบแบบ speed test
**โจทย์รวม 80 ข้อ และมีเวลาในการทำ 90 นาที ซึ่งโดยเฉลี่ยจะมีเวลาทำเพียงข้อละ 1.12 นาทีเท่านั้น ดังนั้นเราควรจะต้องทำความเข้าใจถึงโครงสร้างของข้อสอบเพื่อที่จะได้วางแผนทำได้
“โครงสร้าง” ของข้อสอบภาษาอังกฤษจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
Section 1 : Listening & Speaking รวม 20 ข้อ 25 คะแนน
Section 2 : Reading รวม 40 ข้อ 50 คะแนน
Section 3 : Writing รวม 20 ข้อ 25 คะแนน
มาเริ่มดูการวิเคราะห์เจาะลึกข้อสอบโดยละเอียดไปทีละส่วนกันเลย
Section 1: ข้อสอบ Listening & Speaking (20 ข้อ / 25 คะแนน)
Section นี้ถือว่าเป็นส่วนที่ง่ายที่สุดของข้อสอบภาษาอังกฤษใน 9 สามัญ
โดยปกติแล้วถ้าต้องการเก็บคะแนนสูงๆ ก็ควรทำพาร์ทนี้ให้ได้ เพราะเป็นพาร์ทที่ไม่ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์เยอะ สามารถดูบริบทของการสนทนาแล้วเลือกตอบได้เลย
โดยปีที่แล้วโจทย์ออกสำนวนต่างๆเยอะกว่าปีที่ผ่านๆมา ดังนั้นน้องจะต้องเข้าใจบริบทของการสนทนาและคุ้นเคยกับสำนวนด้วยถึงจะตอบได้ถูกต้อง
Challenges : โจทย์วัดเรื่อง idioms และ phrasal verbs รวมถึงประโยค/วลีที่เป็นสำนวนที่ใช้ในการสนทนาทั่วไป (common expressions) ที่น้องอาจตอบไม่ได้ถ้าไม่เคยเจอมาก่อน เช่น
- Idioms : shooting for the moon (ทะเยอะทะยาน พยายามทำบางสิ่งที่ยากให้สำเร็จ) / putting out fires (รีบจัดการกับปัญหาฉุกเฉิน)
- Phrasal Verbs : Go on. (พูดต่อเลย) / count on (ไว้ใจได้, พึ่งพาได้, เชื่อถือได้)
- Common expressions : What’s going on? (เกิดอะไรขึ้น, มีอะไรหรือเปล่า) / You must be kidding! (เธอต้องล้อเล่นแน่ๆ)
- Giveaways : โจทย์ข้อแจกคะแนนของพาร์ทนี้ก็มีอยู่ ซึ่งน้องๆควรจะเก็บคะแนนได้ง่ายๆไม่พลาด เช่น
A: I think we need to talk
B: Uh oh. __________ (คำตอบ : That sounds serious)
ดูจากการใช้ Uh oh. แสดงความรู้สึกประมานว่า งานเข้าแล้ว ซวยแน่ๆเรา แสดงว่า B รับรู้ได้ว่า A กำลังจะคุยเกี่ยวกับปัญหาบางอย่างแน่ๆ
A: ____________ the difference between (X) and ? (คำตอบ : Do you know)
B: Sure.
การตอบว่า sure = yes แสดงว่าคำถามเป็น Yes/No Question
A: I’ve just finished listening to a podcast…..
B: ____________?
A: Incredible. (คำตอบ : How was it)
ดูจากการตอบของ B ที่ใช้ adjective ในเชิง positive แสดงว่าคำถามต้องถามถึงความรู้สึก หรือความคิดเห็นของ A ต่อ podcast ที่ฟังไป
A: ______________ Freud’s theories about….. ? (คำตอบ : Did she mention)
B: ______________. She said nothing about that. (คำตอบ : No, not at all)
ดูจากที่ B บอกว่า She said nothing about that โดยคำว่า nothing คือคำบอกใบ้ว่า B ตอบ no และคำถามของ A เป็น Yes/No Question.

Section 2: ข้อสอบ Reading (40 ข้อ / 50 คะแนน)
Section นี้โหดหินที่สุด เป็นตัวกินเวลาของข้อสอบ 9 สามัญ Eng เพราะมีจำนวนข้อมากถึง 40 ข้อ คิดเป็น 50% ของข้อสอบเลย (ซึ่งสัดส่วนของ A-Level พี่ยังไม่แน่ใจว่าจะเหมือนเดิม) น้องๆส่วนใหญ่จะกังวลกับพาร์ทนี้มากที่สุดเพราะกลัวทำไม่ทัน
โดย Reading มีทั้งหมด 5 พาร์ทย่อย ไต่ระดับความยากและความ “เยอะ” ไปเรื่อยๆ มาเจาะลึกข้อสอบ reading ของปี 65 ล่าสุดไปพร้อมๆกันทีละพาร์ทได้เลย
Part 1 : Ad (โฆษณา รวมคำถาม 5 ข้อ / 6.25 คะแนน)
โฆษณาปีนี้ค่อนข้างง่าย เป็นสินค้าอาหารเสิรมวิตามิน C รายละเอียดไม่เยอะ เขียนสรรพคุณของสินค้ามาให้เป็น bullet points ทำให้อ่านและจับใจความได้ง่าย ไม่ต้องตีความเยอะ คำถามที่ออกมาก็ค่อนข้างเบสิค เช่น สินค้าคืออะไร / อะไรคือสรรพคุณ / จุดขายของสินค้าคืออะไร
มีคำถาม 1 ข้อที่ง่าย ดูภาพแล้วตอบได้เลย แต่ต้องตาดี หาคำตอบในภาพให้เจอ คือโจทย์ที่ถามว่าได้รับการรับรองจากประเทศอะไร ในภาพโฆษณามีชื่อประเทศแค่ 1 ชื่อเท่านั้น จึงตอบได้ไม่ยาก แต่ถ้าดูไม่ละเอียดอาจจะหาไม่เจอ
และคำถามสุดท้ายที่ยากขึ้นมาเล็กน้อย และใช้คำศัพท์ที่ถูกพูดถึงเป็นกระแสเยอะมากๆหลังจากน้อง #DEK65 ออกจากห้องสอบ คือคำว่า heartburn ซึ่งหมายถึง อาการกรดไหลย้อน ข้อนี้ถ้าน้องไม่รู้ความหมายของคำนี้อาจจะตอบไม่ถูกเลย
Part 2 : Poem (กลอน รวมคำถาม 5 ข้อ / 6.25 คะแนน)
กลอนปีนี้ยากขึ้นกว่าเดิมพอสมควรเลย เป็นกลอนที่ลูกเล่าเรื่องเกี่ยวกับพ่อตัวเอง โดยพ่อมีลักษณะนิสัยคือ “เป็นคนเก่งทฤษฎี แต่ทำอะไรเองไม่ค่อยเป็น” ลูกเล่าว่าพ่อชอบพูดเรื่องปัญหาบ้านเมือง พูดถึงวิธีแก้ปัญหาต่างๆนานา แต่กลับไม่สามารถแก้ปัญหาเล็กๆน้อยๆในบ้านได้เลย
กลอนนี้ต้องใช้การตีความเยอะ ในกลอนมีการใช้ metaphor (อุปมาอุปมัย, เปรียบเปรย) ที่ตีความยากพอสมควร
ลักษณะของคำถามจะเป็นการถามแนว inference / main idea / detail / key message ที่แต่ละ Stanza ต้องการสื่อ (Stanza = กลอน 1 บท ดูจากเลขที่อยู่หน้ากลอนแต่ละบทได้เลยว่ากำลังอ่าน Stanza ที่เท่าไหร่อยู่) ต้องใช้การถอดความและตีความนัยยะแฝงให้เข้าใจเพื่อจะเลือกคำตอบที่ถูกต้องได้
อีกแนวคำถามที่โจทย์ออกคือ the writer’s tone (น้ำเสียงหรือความรู้สึกของผู้เขียนที่แฝงอยู่) ซึ่งความยากของโจทย์ลักษณะนี้คือน้องต้องจับน้ำเสียงจากลักษณะการเขียนและการถ่ายทอดใจความของบทกลอน
ในปีนี้ถ้าดูกลอนแต่ละ Stanza จะเห็นว่า ใน 6 บรรทัดแรกพูดในเชิงกล่าวถึงพ่อในเชิงบวก บอกว่าพ่อเก่ง สามารถคิดแนวทางแก้ปัญหาของสังคมและประเทศได้ แต่ 2 บรรทัดสุดท้าย ประโยคขึ้นด้วย But เพื่อสื่อใจความขัดแย้ง และพูดถึงปัญหาเล็กๆภายในบ้านที่พ่อแก้ไขไม่ได้ แสดงถึงการใช้น้ำเสียงแบบ Sarcastic (เสียดสี)
แนวคำถามสุดท้ายคือถาม Title (ชื่อ) ของบทกลอนนี้ ข้อนี้ตอบได้ไม่ยาก ถ้าตอบคำถาม 3 ข้อแรกได้ เข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอด ก็จะรู้ทันทีว่าคำตอบคือข้อไหน
Part 3 : Joke and Movie review (ตลก และ รีวิวหนัง รวมคำถาม 10 ข้อ / 12.5 คะแนน)
Joke ปีนี้ออกไม่ยาก เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงที่พาเป็ดที่เลี้ยงไว้มาหาหมอ ซึ่งหมอบอกว่าเป็ดตายแล้ว แต่เจ้าของไม่เชื่อ ต้องการให้หมอตรวจให้ละเอียด
เรื่องนี้สามารถอ่านแล้วจินตนาการภาพตามได้เลย ไม่มีใจความแฝงที่ตีความยาก คำศัพท์ค่อนข้างง่าย โจทย์ถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละ paragraph ถามถึงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่อง ถาม inference (การตีความ, อนุมาน) และสุดท้ายคือคำถามยอดนิยมคือ Topic ของเรื่อง ถ้าอ่านเรื่องแล้วเข้าใจก็สามารถเก็บคะแนนเต็มได้ไม่ยาก
Movie review ปีนี้ออกค่อนข้างยาว แนวคำถามเชิงลึกแบบ TRUE/FALSE และ Inference ที่ต้องอ่านบทความเกือบทั้งเรื่องถึงจะตอบได้ คำตอบจะแฝงเอาไว้เป็นประโยคสั้นๆ กระจายอยู่ในแต่ละ paragraph และไม่เรียงลำดับคำถามตามลำดับของ paragraph
เช่น คำถามข้อ 1 ข้อไหน True เกี่ยวกับ Riley (ตัวเอกของเรื่อง) คำตอบซ่อนอยู่ใน paragraph ที่ 2 ช่วงท้ายๆย่อหน้า
ประโยคคือ Riley blams herself for Chris’s death. (Riley โทษตัวเองเรื่องการตายของ Chris) ตรงกับช้อยส์ She has a guilty conscience about her boyfriend’s death. และถ้าน้องจะเลือกช้อยส์ข้อนี้ได้ถูก ก็ต้องเข้าใจคำว่า blame herself (โทษตัวเอง) และ guilty conscience (ความรู้สึกผิด) ถึงจะจับคู่สองประโยคนี้ได้ถูกต้อง
คำถามข้อ 2 What can be inferred… การอนุมานจากเรื่อง คำตอบซ่อนอยู่ใน paragraph ที่ 2 ช่วงต้นของย่อหน้าตอนแนะนำตัวละคร
ประโยคคือ She lives in a fancy house. (เธออยู่บ้านที่หรูหรา) อนุมานได้ตรงกับช้อยส์ Riley comes from a rich family (Riley มาจากครอบครัวที่รวย) จะอนุมานและตีความว่ารวยได้ น้องต้องรู้ก่อนว่า คำว่า fancy (adj.) ใช้บรรยายคำนาม ว่าสิ่งนั้นมีความหรูหรา
ดูจาก 2 คำถามแรกก็เห็นเลยว่า คำตอบไม่ได้เรียงตามลำดับการอ่านปกติ ดังนั้นน้องต้องอ่านคำถามก่อนว่าถามเกี่ยวกับอะไร แล้วไปอ่าน paragraph ที่พูดถึงสิ่งนั้น แล้วอ่านทั้ง paragraph ให้เข้าใจ
คำถาม 2 ข้อแรกถามในส่วนของเนื้อเรื่องย่อของหนัง ก็ไปอ่านเฉพาะ paragraph ที่เป็นเนื้อเรื่องก่อนโดยยังไม่ต้องอ่านคำวิจารณ์ของผู้เขียน
คำถามที่เหลืออีก 2 ข้อจะถามถึง the writer’s view และ attitude แล้ว ดังนั้นให้ไปอ่าน paragraph ที่เขียนเกี่ยวกับมุมมองผู้เขียน ส่วน attitude ให้จับจาก adjectives ที่ผู้เขียนใช้ มีคำว่า ridiculous, awkward, และ terrible แสดงถึง negative attitude ต่อหนังเรื่องนี้
มี 1 ข้อถามถึง Genre (ศัพท์ในวงการสื่อภาพยนต์และเพลง แปลว่า ประเภทหรือหมวดหมู่) ซึ่งคำตอบอยู่ในส่วนที่เล่าเนื้อเรื่อง ที่จริงอยู่ในบรรทัดแรกของบทความเลยถ้าน้องจับใจความถูก ในประโยคที่เกริ่นถึงหนังเรื่องนี้ว่าเป็น “a supernatural teen love story”
สรุปแล้วใน Part 3 : Joke and Movie review ปีนี้ joke ง่าย ควรเก็บคะแนนได้เต็ม ส่วน movie review ยากกว่าและใช้เวลา+พลังงานในการทำเยอะกว่า ต้อง manage เวลาดีๆนะครับ
Part 4 : News and Editorial (ข่าว และ บทความวิเคราะห์ของบรรณาธิการ รวมคำถาม 12 ข้อ / 15 คะแนน)
News ปีนี้เป็นข่าวเกี่ยวกับเทรนด์การเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันของคนไต้หวัน เนื้อความของข่าวไม่ได้ซับซ้อน ค่อนข้างตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย
แนวคำถามที่เจอจะเป็น main idea และ details รวมถึง TRUE/FALSE ที่น้องสามารถจับ keyword ในคำถาม เพื่อ scan หา keyword เดียวกันในบทความและเจอคำตอบได้เลย อย่างเช่นคำถามที่ถามถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อ birth rate น้องสามารถไป scan หา birth rate ในข่าวได้
Editorial ความยากของบทความวิเคราะห์จากมุมมองของบรรณาธิการ คือการที่ผู้เขียนนั้นเขียนไปอ่านบทความมาจากแหล่งอื่น แล้วมาเขียนบทความอ้างอิงด้วยมุมมองของตัวเอง จึงจะมีแนวคำถามที่ถามถึง tone ของผู้เขียนด้วย
ปีนี้ส่วนตัวพี่รู้สึกว่าออกง่ายกว่า 2 ปีที่ผ่านมา แนวคำถามเจาะไปที่ main idea และ details ของแต่ละ paragraph ตามลำดับการอ่านเลยไม่ซับซ้อน อาจจะมี keywords ที่น้องจำเป็นต้องรู้เพื่อจับคู่คำตอบช้อยส์ที่ถูกต้องได้ อย่างเช่นคำว่า drought ในบทความ ที่ตรงกับคำว่า dryness ในช้อยส์ ถ้าไม่รู้คำใดคำหนึ่งอาจจะตอบไม่ถูก
คำถาม 2 ข้อสุดท้ายถามถึง tone (อีกแล้ว) และ Title (อีกแล้วเช่นกัน) วิธีการทำเหมือนเดิมเลย คือหา tone จับจาก adjective แนววิธีการเขียนถ่ายทอดใจความ และจับ keyword หลักที่บทความเน้นย้ำบ่อยๆเพื่อเลือก title
ในภาพรวมพี่รู้สึกว่า Part 4 : News and Editorial ปีนี้ง่ายกว่าปีก่อนๆ คำถามไม่ได้ยากไม่ซับซ้อน ไม่ต้องตีความเยอะ ความ challenge จริงๆคือความยาวของบทความ ที่อาจจะต้องใช้เวลาและพลังงานในการอ่านเยอะมากจนทำให้รู้สึกท้อได้
แต่ถ้าน้องมีการเตรียมตัวมาดี และวางแผนบริหารจัดการเวลาในห้องสอบได้ดี จนมีเวลาอ่านบทความอย่างละเอียด ก็สามารถเก็บคะแนนเต็ม หรือเกือบเต็มได้เลย
Part 5 : Article (บทความยาว รวมคำถาม 8 ข้อ / 10 คะแนน)
บทความยาวปีนี้ยังคงรักษามาตรฐานความยาวได้เหมือนเดิม แค่เห็นความยาวที่ปาไป 2 หน้าเต็ม! ก็อาจจะทำให้รู้สึกท้อแท้ได้ แต่ถ้าลองอ่านดูจริงๆจะพบว่า บทความ “ไม่ยาก” มากเท่าไหร่
ปีนี้บทความเป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบ AI ที่ช่วยตรวจจับพฤติกรรมที่อาจจะเป็นขโมย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยลดอัตราการขโมยของในร้านสะดวกซื้อลงได้ โดยบทความก็เล่าเรียงลำดับตั้งแต่การแนะนำเทคโนโลยีนี้ ที่มาที่ไปของมัน ไปจนถึงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อการใช้งานของเทคโนโลยีนี้ ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ
คำถามที่เจอจะเป็นการถาม main idea ของแต่ละ paragraph ซึ่งน้องจะต้องเข้าใจสิ่งที่แต่ละ paragraph ต้องการสื่อ และถาม details เกี่ยวกับสิ่งที่โจทย์ระบุ ใช้วิธีดู keyword ที่โจทย์ถามแล้วไป scan หา keyword นั้นในบทความเพื่อประหยัดเวลาอ่านและหาคำตอบได้เลย
เช่นโจทย์ถามว่า เทคโนโลยีนี้ทำอย่างไรเมื่อ “spotting suspicious behaviour?” ไปหา keyword เหล่านี้ในบทความก็จะเจอประโยคนี้ขึ้นต้น paragraph 4 ว่า “If the system spots behaviour it deems suspicious, it alerts store personnel via an app.” ตรงกับช้อยส์ “Signal store staffers via an app”
จะเห็นว่ารูปประโยคเหมือนกัน แต่น้องต้องรู้ศัพท์เพื่อจับคู่คำศัพท์ที่ตรงกันได้ alert-signal / store personnel-store staffers พาร์ทนี้ปิดท้ายด้วย 2 คำถามยอดฮิตอีกแล้ว คือ tone และ title โดยภาพรวมแล้วบทความและคำถามไม่ยากเกิน แต่ “เยอะ” มาก

Section 3: ส่วนข้อสอบ Writing (20 ข้อ / 25 คะแนน)
Part 1 : Letter Writing (10 ข้อ / 12.5 คะแนน)
Part 2 : Paragraph Completion (5 ข้อ / 6.25 คะแนน)
Part 3 : Paragraph Organization (5 ข้อ / 6.25 คะแนน)
จบทุกพาร์ท สรุป อังกฤษ 9 วิชาสามัญ แบบเต็ม ๆ

