Home » สรุป ข้อสอบ If-Clause ออกสอบ GAT และ 9 วิชาสามัญ ภาษาอังกฤษ ทุกปี!

สรุป ข้อสอบ If-Clause ออกสอบ GAT และ 9 วิชาสามัญ ภาษาอังกฤษ ทุกปี!

  • by
สรุป ข้อสอบ GAT ส่วน if-clause
สรุป ข้อสอบ GAT ส่วน if-clause

สรุป ข้อสอบ If-Clause ออกสอบ GAT และ 9 วิชาสามัญ ภาษาอังกฤษ ทุกปี!

If-Clause หรือมีอีกชื่อเรียกว่า Conditional sentences คือ ประโยคเงื่อนไขหรือส่วนที่เป็นเหตุการณ์สมมติ หรือรูปแบบประโยคที่ใช้บอกว่า ถ้ามีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น (เงื่อนไข) อีกสิ่งก็จะเกิดขึ้นตาม (ผลลัพธ์) โดยปกติแล้วในข้อสอบ If Clause จะเป็นส่วนที่น้อง ๆ งงกันเยอะ

ซึ่งประโยค If-Clause จะประกอบด้วยประโยค 2 ส่วน คือ ประโยคหนึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า If กับอีกประโยคหนึ่งมีหน้าตาเหมือนประโยคสมบูรณ์ทั่วไป สังเกตว่า ประโยคสองประโยคนี้สลับที่กันได้ จะยกประโยคไหนขึ้นต้นก็ได้ แล้วแต่การเน้นและความหมาย

โดยวันนี้ ครูพี่โอมจาก Forward English จะมาสรุปเรื่อง If-Clause ที่ออกสอบทุกปี พร้อมตัวอย่างจากแบบฝึกหัด ข้อสอบ if clause เพื่อให้น้อง ๆ ได้เข้าใจ จบในที่นี่ที่เดียว ให้พร้อมเตรียมสอบ GAT และ 9 วิชาสามัญ

If-Clause แบ่งออกเป็น 4 Conditions

การใช้ If-Clause แบบ Zero Condition

เงื่อนไขเหตุการณ์ที่เป็นจริงเสมอ เกิดขึ้นแน่นอน (ถ้า A เกิดขึ้นแล้ว B จะเกิดขึ้นตามแน่นอน)

การใช้ If-Clause แบบ First Condition

เงื่อนไขเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ อาจเกิดขึ้นในอนาคต (ถ้า A เกิดขึ้น แล้ว B ก็อาจจะเกิดขึ้นตาม)

การใช้ If-Clause แบบ Second Condition

เงื่อนไขเหตุการณ์สมมติสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน (ถ้าสมมติว่า A เกิดขึ้นตอนนี้ แล้ว B ก็คงจะเกิดขึ้นตาม – แต่ในความเป็นจริง A ไม่มีวันเกิดขึ้นตอนนี้)

การใช้ If-Clause แบบ Third Condition

เงื่อนไขเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงในอดีต (ถ้าสมมติว่า A เกิดขึ้นในอดีต แล้ว B ก็คงจะเกิดขึ้นตาม ซึ่งผู้พูดอาจรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ทำบางอย่างในอดีต หรืออยากให้เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น จึงสมมติว่า A เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร แต่ในความเป็นจริง A ไม่ได้เกิดขึ้นตามแบบที่ผู้พูดคาดหวัง)

ตัวอย่างแต่ละ Conditions เพื่อให้เข้าใจก่อน สอบ ข้อสอบ If Clause

ตัวอย่าง Zero Condition

Zero Conditional คือ เงื่อนไขเหตุการณ์ที่เป็นจริงเสมอ เกิดขึ้นแน่นอน (ถ้า A เกิดขึ้นแล้ว B จะเกิดขึ้นตามแน่นอน)

รูปประโยคของรูปแบบนี้คือ

If + S + V.1 , S + V.1

ตัวอย่างเช่น 

If water boils, It turns into steam.  (ถ้าน้ำเดือด จะเปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ)

If you are under 18, you cannot get a driving license. (ถ้าคุณอายุไม่ถึง 18 ปี คุณทำใบขับขี่ไม่ได้)

ตัวอย่าง ข่อสอบ if clause ประเภท Zero Condition (1)

ตัวอย่าง First Condition

First Condition คือ เงื่อนไขเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ อาจเกิดขึ้นในอนาคต (ถ้า A เกิดขึ้น แล้ว B ก็อาจจะเกิดขึ้นตาม)

รูปประโยคของรูปแบบนี้คือ

If + S + V.1 , S + will + V.1

ตัวอย่างเช่น 

If it rains, you will get wet.  (ถ้าฝนตก เธอจะเปียกนะ)

If we take a taxi, We will arrive at the airport in time for our flight.

(ถ้าเรานั่งแท็กซี่ไป เราจะถึงสนามบินทันเวลาเที่ยวบินเรา)

if-clause ประเภท first Condition (1)

ตัวอย่าง Second Condition

Second Condition คือ เงื่อนไขเหตุการณ์สมมติสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน (ถ้าสมมติว่า A เกิดขึ้นตอนนี้ แล้ว B ก็คงจะเกิดขึ้นตาม – แต่ในความเป็นจริง A ไม่มีวันเกิดขึ้นตอนนี้)

รูปประโยคของรูปแบบนี้คือ

If + S + V.2 , S + would + V.1

ตัวอย่างเช่น 

If I had a lot of money, I would travel around the world.  (ถ้าฉันมีเงินเยอะ ฉันจะเที่ยวรอบโลกเลย)

If the weather was good, we would go to the park. (ถ้าสภาพอากาศดี เราคงไปที่สวนสาธารณะกัน)

เข้าใจ if-clause ประเภท second Condition ก่อนสอบ

ตัวอย่าง Third Condition

Third Conditional คือ เงื่อนไขเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงในอดีต (ถ้าสมมติว่า A เกิดขึ้นในอดีต แล้ว B ก็คงจะเกิดขึ้นตาม ซึ่งผู้พูดอาจรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ทำบางอย่างในอดีต หรืออยากให้เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น จึงสมมติว่า A เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร แต่ในความเป็นจริง A ไม่ได้เกิดขึ้นตามแบบที่ผู้พูดคาดหวัง)

รูปประโยคของรูปแบบนี้คือ

If + S + had + V.3 , S + would + have + V.3

ตัวอย่างเช่น 

If she had studied for the exams, she would have passed. 

(ถ้าเธอตั้งใจอ่านหนังสือสอบ เธอคงจะสอบผ่านแล้ว)

If we had left the house earlier, we wouldn’t have missed the train.

(ถ้าเราออกจากบ้านเร็วกว่านี้ เราคงจะไม่พลาดรถไฟ)

if-clause ประเภท third Condition

อ่านจบแล้ว อย่าลืมทบทวนก่อนเจอ ข้อสอบ If-Clause ของจริง

อย่างที่ได้บอกในข้างต้นที่ว่า ประโยค If clause ประกอบด้วย 2 ส่วน โดยทั้งสองส่วนนี้สามารถสลับตำแหน่งกันได้ แต่ถ้าส่วนของ if clause ขึ้นก่อน จะต้องมีเครื่องหมายคอมมา (,) คั่นอยู่ตรงกลาง แต่ถ้าเอาส่วนของประโยคผลลัพธ์ขึ้นก่อน ก็ไม่ต้องมีเครื่องหมายคอมมา (,) 

ทั้งนี้ ข้อสอบ If-Clause นี้ออกสอบทุกปีใน GAT Eng และ 9 วิชาสามัญ ซึ่งพี่โอมหวังว่าโพสต์นี้จะเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ ให้ได้สอบได้ผ่านฉลุย! 

ปล. อย่าลืมทำแบบฝึกหัด ข้อสอบ if clause เยอะ ๆ หละ แล้วจะเข้าใจมากขึ้นด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *